Thailand Long-Term Resident (LTR) Visa
วีซ่าผู้พำนักระยะยาว (LTR) เป็นวีซ่าที่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 10 ปี โดยกรอบเวลา 10 ปี จะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก 5 ปี และขยายอีก 5 ปี รวมกันไม่เกิน 10 ปี
สิทธ์ประโยชน์
- ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย 10 ปี โดยเบื้องต้นจะได้รับ 5 ปี และจะสามารถต่อได้อีก 5 ปีเมื่อคุณสมบัติครบถ้วน
- ข้อยกเว้นการมีพนักงานคนไทย 4 คนต่อต่างชาติ 1 คน
- บริการช่องทางพิเศษที่สนามบินในประเทศไทย
- ไม่ต้องรายงานตัวเมื่ออยู่ไทยครบ 90 วัน
- ได้ Multiple Re-entry โดยอัตโนมัติ
- อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
- เสียภาษี 17% ในประเภทผู้เชี่ยวชาญระดับสูง (Highly-skilled-professionals)
- มีอัตราด้านภาษีที่น่าสนใจ ได้รับการยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
- ขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ที่ One Stop Service Center
ขั้นตอนการสมัคร
- ยื่นใบสมัครผ่านทางออนไลน์
- แจ้งผลให้ทราบภายใน 20 วันหลังยื่นใบสมัคร
- ออกจดหมาย endorsement letter ภายใน 60 วันหลังแจ้งผลอนุมติ
- ค่าธรรมเนียม 50,000 บาท
คุณสมบัติ
LTR เสนอให้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
-
- ประชากรโลกที่มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizens)
-
-
- มีทรัพย์สินอย่างน้อย 1 ล้าน USD
- มีรายได้รวมอย่างน้อย 80,000 USD ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
- ลงทุนในไทยอย่างน้อย 50,000 USD
-
-
- ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioners)
-
-
- ต้องเกษียณแล้ว และอายุ 50 ปีขึ้นไป
- มีรายได้ขั้นต่ำ 80,000 USD ต่อปี
- ถ้ามีรายได้ตั้งแต่ 40,000 แต่ไม่ถึง 80,000 USD ต้องลงทุนอย่างน้อย 250,000 USD
-
-
- ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-From-Thailand Professionals)
-
-
- มีรายได้รวมกันอย่างน้อย 80,000 USD ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
- ถ้ามีรายได้ตั้งแต่ 40,000 แต่ไม่ถึง 80,000 USD ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาหรือสินทรัพย์ในประเทศไทย
- บริษัทที่ว่าจ้างต้องเปิดดำเนินการมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 150 ล้าน USD ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
- ต้องทำงานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
-
-
- ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (Highly-Skilled Professionals)
-
-
- มีรายได้รวมกันอย่างน้อย 80,000 USD ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
- จากรายได้: ถ้ามีรายได้ตั้งแต่ 40,000 แต่ไม่ถึง 80,000 USD ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือ มีความเชียวชาญด้านในด้านหนึ่ง
- จากธุรกิจ: จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผ่านการวิจัย การฝึกอบรมเฉพาะทาง หรือผ่านทางหน่วยงานราชการไทย
- ประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
-
สำหรับประเภท 1, 2, 3 และ 4 ต้องมีประกันสุขภาพ หรือ สวัสดิการในการรักษาตัว ในประเทศไทน คุ้มครองขั้นต่ำ 50,000 USD หรือมีเงินฝากอย่างน้อย 100,000 USD
-
- คู่สมรสตามกฏหมาย และผู้ติดตาม
-
-
- บุตร อายุต่ำกว่า 20 ปี
- มีผู้ติดตามได้สูงสุด 4 คน ต่อ ผู้สมัคร LTR 1คน
- มีประกันสุขภาพ หรือ สวัสดิการรักษาตัวในประเทศไทย คุ้มครองขั้นต่ำ 50,000 USD หรือมีเงินฝากอย่างน้อย 25,000 USD
-
FAQ – วีซ่าพำนักระยะยาวในประเทศไทย (LTR)
วีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้คุณสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ 10 ปี โดย วีซ่าจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะละ 5 ปี ในเบื้องต้นผู้สมัครจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศได้ 5 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 5 ปี ซึ่งระยะเวลาพำนักทั้งหมดต้องไม่เกิน 10 ปี
วีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) เป็นทางเลือกให้แก่ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด 4 ประเภท ได้แก่ ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทยและผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ รวมไปถึงคู่สมรสตามกฎหมายและผู้อยู่ในอุปการะของผู้ถือวีซ่าพำนักระยะยาว (LTR)
ไม่มี
ไม่มีการจำกัดอายุในการสมัครวีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) หากสมัครในกลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ แต่หากสมัครในกลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ต้องมีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
ไม่มี
คู่สมรสตามกฎหมายและบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี (มีผู้อยู่ในอุปการะได้สูงสุดไม่เกิน 4 คน)
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ถือวีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) จะได้รับมีดังนี้:
- การยกเลิกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างงานที่ระบุว่าต้องมีพนักงานคนไทย 4 คน ต่อต่างชาติ 1 คน
- สิทธิในการใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
- การรายงานตัวทุกๆ 1 ปี (จากเดิมคือ 90 วัน) และได้รับการยกเว้นการขออนุญาตเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย (Re-Entry Permit)
- ได้รับสิทธิการเข้าออกประเทศไทยได้ไม่จำกัดครั้ง
- ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
- ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% สำหรับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
- ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้จากต่างประเทศ
- การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service)
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่จะได้รับมีดังต่อไปนี้:
- ยกเว้นภาษีสำหรับรายได้ที่มาจากต่างประเทศ
- ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% สำหรับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
ใช่ ผู้สมัครควรมีรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทที่จะสมัครดังนี้
- ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง : มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า USD 80,000 ต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศที่ได้รับบำนาญ : มีรายได้ส่วนบุคคล USD 80,000 ต่อปี
- ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย : มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า USD 80,000 ต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ : มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า USD 80,000 ต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐของไทย ไม่ต้องแสดงหลักฐานรายได้
ขั้นตอนในการสมัครมีดังต่อไปนี้:
- ลงทะเบียนและกรอกใบสมัคร พร้อมยื่นเอกสารประกอบเพื่อขอรับรองคุณสมบัติสำหรับ LTR Visa ผ่านระบบออนไลน์
- ผู้สมัครจะได้รับการแจ้งผลการพิจารณาภายใน 20 วันทำการ นับจากวันที่ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารประกอบการสมัครที่ครบถ้วนสมบูรณ์
- ผู้สมัครที่คุณสมบัติผ่านการรับรองวีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) สามารถดำเนินการยื่นขอรับการตรวจลงตราวีซ่าได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ หรือสำนักตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทยภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
- ขอรับใบอนุญาตทำงานดิจิทัล (Digital Work permit) ได้ที่กรมการจัดหางาน ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service)
ผู้สมัครจะได้รับการแจ้งผลการพิจารณาภายใน 20 วันทำการนับจากวันที่ยื่นคำขอ อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่จากประสบการณ์ โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จะทำการติดต่อภายใน 20 วันทำการ
เอกสารรับรองรายได้ รวมไปถึงเอกสารแสดงรายการภาษี
หากคุณต้องการข้อมูลของเอกสารที่ใช้ในการสมัครอย่างละเอียด โปรดติดต่อ Harvey Law Group เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากเอกสารในการสมัครแตกต่างกันตามแต่ละประเภทที่คุณสมัคร
ค่าธรรมเนียมในการสมัคร 50,000 บาท/คน (ระยะเวลาวีซ่า 10 ปี สามารถเดินทางเข้าออกประเทศไทยได้โดยไม่จำกัดจำนวน) และมีค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตทำงานดิจิตัล 3,000 บาท/คน/ปี
เอกสารข้างต้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้คำแนะนำและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้จัดทำขึ้นหรือมีเจตนาในการให้คำแนะนำด้านกฎหมายใดๆ ข้อมูลนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งกล่าว ในแต่ละกรณีจะมีข้อแตกต่างกัน และจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล หากทำการเปรียบเทียบข้อมูลเบื้องต้นกับข้อมูลของตนแล้ว โปรดคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย ทางทีมกฎหมายของเราพร้อมอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการประเมินสถานการณ์ของผู้ที่ให้ความสนใจ